18 ก.ย. 2556


กระติบแปรรูปหัวใจ

กระติบแปรรูปหัวใจ จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา
กระติบข้าว ถือว่าเป็นพาชนะหลักที่อยู่คู่กับชุมชนชาวอีสาน ที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นชุมชนชาวอีสานที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาการสานกระติบข้าวมาจากบรรพบุรุษ แบบรุ่นต่อรุ่น ประกอบกับบริเวณตำบลนาคูณใหญ่มีแม่น้ำอูนไหลผ่านมีต้นไผ่สีสุกขึ้นงอกงามจำนวนมาก เหมาะแก่การสานกระติบข้าว ในปี 2540 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จแปรพระราชฐานพักแรม ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้นสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาหว้าได้ให้ชาวนาคูณน้อยผู้มีฝีมือในทางจักสานค่อนข้างดี ส่งผลิตภัณฑ์จักสานเข้าประกวด โดยการนำของกำนันไตรวิช ตุธิรัตน์ กำนันตำบลนาคูณใหญ่ ในสมัย นั้น พร้อมด้วยลูกบ้านนาคูณน้อย หมู่ที่ 6 ประกอบด้วย นางคำนาง แปโค นางใคร เคนดง และนางหวา ตุธิรัตน์ ได้นำผลิตภัณฑ์จักสาน คือ กระติบข้าว โดยผลิตเป็นลายตัวหนังสือคำ ว่า “กินของไทย ใช้ของไทย” และได้รับรางวัลพระราชทานชมเชยที่ 1 ประเภทความคิดสร้างสรรค์ ได้รับรางวัลเงินสด 10,000 บาท
หลังจากนั้นนายนพวัชร วิงห์ศักดา นายอำเภอนาหว้า เห็นว่าน่าจะส่งเสริมอาชีพจักสานกระติบข้าว เป็นอาชีพเสริมอย่างจริงจังให้แก่ชุมชนชาวตำบลนาคูณใหญ่ เป็นอาชีพรองจากการทำนา ในลักษณะการรวมกลุ่มให้เกิดรายได้ให้กับชุมชนจึงมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาหว้า ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพโดยตรง ได้เข้ามาจัดตั้งกลุ่มให้ในวันที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ.2541 ที่บ้านนาคูณน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม โดยใช้บริเวณใต้ถุนบ้านของประธานกลุ่มคือนางคำนาง แปโค เป็นที่ทำการกลุ่ม มีคณะกรรมการบริหารจำนวน 11 คน และมีสมาชิกจำนวน 52 คน ได้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่จำนวน 30,000 บาท ช่วงแรกทางกลุ่มผลิตสินค้าหลักเป็นกระติบข้าวแบบธรรมดา และของใช้ต่างๆ จำหน่ายเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างจังหวัดมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ต่อมามีคนในชุมชนได้นำการทำกระติบข้าวรูปทรงหัวใจมาเผยแพร่ให้กับคนในชุมชน ได้ลองผลิตปรากฏว่าเป็นทีต้องการของตลาดในเวลาต่อมา ด้วยรูปทรงที่สวยงาม และฝีมืออันประณีต จึงมีลูกค้าสั่งผลิตเพื่อเป็นของชำร่วย ของที่ระลึกในงานมงคลต่างๆ

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของกระติบแปรรูปหัวใจของศูนย์หัตถกรรมและพัฒนาอาชีพพื้นบ้านจักสานไม้ไผ่ บ้านนาคูณน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลนาคูณใหญ่ คือ มีรูปทรงที่สวยงาม ฝีมือประณีต ผลิตจากวัสดุธรรมชาติทั้งหมด ตลอดการผลิตไม่ใช้สารเคมี สีสันสวยงามตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์มีความคงทน อันเนื่องมาจากแต่ละขั้นตอนของการผลิตใช้ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดและคิดค้นเพิ่มเติมตั้งแต่การเตรียมวัสดุด้วยการต้มไม้ไผ่ และการมควันเพื่อให้เกิดสีสันที่สวยงามและป้องกันมอดไม้ไผ่

วัตถุดิบ
1. ไผ่สีสุก
2. เลื่อย
3. พร้า
4. เครื่องเหลาตอก
5. เหล็กซี
6. กรรไกร
7. ดินสอ/ปากกา
8. กระบอกฉีดน้ำ
9. น้ำ
10. หวาย
11. ฝากีวีขัดรองเท้า
ส่วนประกอบ กระติบรูปหัวใจ มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
1.ตัวกระติบ
2. ฝากระติบ
3. ตุ๊

ขั้นตอนการผลิต
ในกระบวนการผลิตกระติบรูปหัวใจ แบ่งออกเป็นขั้นตอนตามส่วนประกอบโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1. ขั้นเตรียมวัตถุดิบ
1. เลื่อยไม้ไผ่เป็นปล้องความยาวประมาณ 10 นิ้ว แล้วผ่าออกเป็นซีก
2. นำไผ่ที่ผ่าแล้วไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกำจัดน้ำตาลในเนื้อไม้ไผ่
การต้มไม้ไผ่นี้ยังช่วยให้ไผ่มีความเหนียว ลดการฉีกขาด และที่สำคัญคือ ป้องกันมอดกัดกินเนื้อไม้ไผ่ และขั้นตอนการต้มแม่คำนาง แปโค บอกเคล็ดลับว่าให้ผสมน้ำซาวข้าวประมาณ 10 ลิตร และเกลือ ประมาณ 1 กำมือ ผสมลงไปด้วยเพราะผลที่ได้จะประสิทธิภาพดีกว่าการใช้น้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว
3. เมื่อต้มแล้วรอให้เย็นแล้วนำมาจักตอกขนาดความกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร
4. นำตอกที่ได้มาขูดด้วยเครื่องขูดตอกเพื่อให้ได้เส้นตอกที่เรียบ เวลาสานจะทำให้ประณีต สวยงาม หลังจากนั้นนำมาผึ่งให้แห้ง
2. ขั้นตอนการเตรียมส่วนประกอบ
1. การทำฝาและตัวกระติบ ในขั้นตอนของการทำฝาและตัวกระติบนี้จะมีกระบวนการที่ เหมือนกันทุกประการ คือจะสานด้วยลายสองและลายเวียนเหมือนกัน ยกเว้นจำนวนเส้นตอกที่ แตกต่างกัน คือ ฝากระติบจากมีจำนวนเส้นตอกที่มากกว่าตัวกระติบประมาณ 2-3 เส้น เพื่อเวลา ประกอบจะสามารถปิดเปิดได้พอดี
2. การเตรียมตุ๊ ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ เพราะตุ๊เป็น ส่วนประกอบที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวและฝากระติบ นอกจากนั้นยังเพิ่มความสวยงาม ให้กับ ผลิตภัณฑ์อีกด้วย ตุ๊ที่ประกอบในผลิตภัณฑ์แปรรูปกระติบหัวใจนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- ตุ๊ลายขัด ใช้เส้นตอกเส้นใหญ่ และนิยมสานเป็นลายขัด เพราะเวลานำมาประกอบเส้น ตอกจะไม่หลุดลุ่ย และประกอบง่ายใช้ประกอบในผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ชิ้น
- ตุ๊ลายสอง เป็นตุ๊ที่ใช้ตอกขนาดเดียวกับที่สานตัวและฝากระติบ นิยมสานเป็นลายสอง เพราะใช้เวลาสั้น มีความแน่นของเส้นตอก 1 กระติบใช้ตุ๊ลายสองจำนวน 2 ชิ้น
- ตุ๊ลายตาแหลว (ตาเหยี่ยว) ลายตาแหลวเป็นลายที่ใช้เส้นตอกเส้นเล็กที่สุดในบรรดาตุ๊ทุก ชนิดโดยเป็นชั้นบนสุดที่ใช้ประกอบในส่วนของฝากระติบ
3. ขั้นตอนการประกอบ ก่อนที่จะประกอบให้ดัดตัวและฝากระติบให้เป็นรูปทรงหัวใจก่อน เพราะจะทำให้ฝาและตัวสวมกันได้พอดี หลังจากนั้นจึงนำไปประกอบกับ ตุ๊ ที่เตรียมไว 
- การประกอบส่วนตัวกระติบ นำตัวกระติบ ตุ๊ลายขัด 1 ชิ้น และตุ๊ลายสอง 1 ชิ้นประกอบ เข้าด้วยกัน โดยให้ตุ๊ลายขัดอยู่ด้านใน และให้ตุ๊ลายสองอยู่ด้านนอกสุด หลังจากนั้นประกอบกันเข้า ด้วยเส้นหวายที่เตรียมไว้ โดยจุดแรกใช้เหล็กซีเจาะรูนำทางและร้อยประสานเข้ากันด้วยเส้นหวายจน รอบ
- การประกอบส่วนฝากระติบ นำตัวฝากระติบ, ตุ๊ลายขัด 1 ชิ้น, ตุ๊ลายสอง 1 ชิ้น และตุ๊ ลายตาแหลว 1 ชิ้น มาประกอบเข้าด้วยกัน โดยการยึดด้วยเส้นหวายที่เตรียมไว้ โดยเรียงลำดับตุ๊จาก ด้านในสุดด้วยตุ๊ลายขัด ต่อมาด้วยตุ๊ลายสอง และปิดทายด้านนอกสุดด้วยตุ๊ลายตาแหลว
4. ขั้นตอนการรมควัน การรมควันถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนนึ่ง เพราะจำทำให้เกิดสีของผลิตภัณฑ์ที่ สวยงาม กระบวนการนี้ใช้เชื้อเพลิงคือ ฟางข้าว แกลบ กะลามะพร้าว ฟืน ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดย วิธีการคือนำฟางข้าวไปชุบน้ำและจุดไฟแล้วนำแกลบมาคลุมชั้นบนเพื่อให้เกิดควัน แล้วนำตะแกรงไม้ ไผ่มาวางด้านบนของท่อซีเมนต์ นำผลิตภัณฑ์ไปวางแล้วนำผ้ามาคลุมให้มิดชิด กระบวนการรมควันนี้ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ในระหว่างนี้ต้องหมั่นกลับด้านเพื่อให้ได้สีที่สวยงาม สวยตลอดทั้งผลิตภัณฑ์ การรมควันนอกจากเพิ่มสีสันแล้วยังช่วยให้ป้องกันมอดกินไม้ได้

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
1. การต้มไม้ไผ่ ให้ผสมน้ำซาวข้าวประมาณ 10 ลิตร และเกลือ 1 กำมือ ต้มจนน้ำต้มหมด ความเหนียว โดยใช้เวลาในการต้มประมาณ 24 ชั่วโมง หรือมากกว่า เพื่อป้องกันมอดไม้ไผ่ และทำให้ ได้เส้นตอกที่เหนียว
2. เวลาสาน ให้พรมน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันเส้นตอกหัก การพรมน้ำจะช่วยให้การสานประณีต ยิ่งขึ้นเพราะเส้นตอกจะแน่นหนา เพิ่มความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์
3. การดัดรูปทรงกระติบให้เป็นรูปหัวใจ ต้องนำฝาและตัวกระติบมาดัดพร้อมกันโดยฝาอยู่ ด้านบน วิธีนี้จะทำฝาและตัวประกอบกันได้พอดี
4. ขั้นตอนการรมควัน ถ้าต้องการสีที่สวยงาม เวลารมควันต้องปิดปล่องให้มิดชิด และเทียวกลับ ด้านบ่อยๆ เพื่อให้สีสวยเสมอกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น