29 ก.ย. 2556

การจักสานปลาตะเพียน


ขั้นตอนการสานปลาตะเพียน
   1. นำใบลานมาตัดเป็นเส้นยาว จำนวน 2 เส้น
   2. นำใบลานเส้นที่ 1 มาพันมือ 2 รอบ
   3. นำใบลานหั่นได้แล้วดึงมือที่พันออก ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับไว้
   4. นำใบลานใบที 2 มาพับครึ่งแล้วสอดเข้าไปในใบมะพร้าวที่พันไว้ในรอบแรก
   5. เสร็จแล้วให้ใช้ใบลานเส้นที่ 2 เส้นล่างสอดช่องใบลานเส้นที่ 1 ห่วงแรก
   6. กลับด้านหลังขึ้นมานำใบลานเส้นที่ 2 ปลายด้านล่างสอดช่อง แล้วดึงจัดให้สวยงาม
   7. ใช้กรรไกรตกแต่ง ครีบและหาง
   8. สานใบลานส่วนที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ เช่น กระโจม กระทงเกลือ ใบไพ เม็ดปักเป้า
และลูกปลานำตัวปลาและเครื่องประกอบอื่นๆระบายสีให้สวยงาม
    9. นำลูกปลาเละเครื่องประกอบอื่นๆที่ตกแต่งแล้วมาประกอบกับปลาตัวใหญ่ จะได้ปลาตะเพียนเป็นพวงสวยงาม

18 ก.ย. 2556


กระติบแปรรูปหัวใจ

กระติบแปรรูปหัวใจ จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา
กระติบข้าว ถือว่าเป็นพาชนะหลักที่อยู่คู่กับชุมชนชาวอีสาน ที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นชุมชนชาวอีสานที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาการสานกระติบข้าวมาจากบรรพบุรุษ แบบรุ่นต่อรุ่น ประกอบกับบริเวณตำบลนาคูณใหญ่มีแม่น้ำอูนไหลผ่านมีต้นไผ่สีสุกขึ้นงอกงามจำนวนมาก เหมาะแก่การสานกระติบข้าว ในปี 2540 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จแปรพระราชฐานพักแรม ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้นสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาหว้าได้ให้ชาวนาคูณน้อยผู้มีฝีมือในทางจักสานค่อนข้างดี ส่งผลิตภัณฑ์จักสานเข้าประกวด โดยการนำของกำนันไตรวิช ตุธิรัตน์ กำนันตำบลนาคูณใหญ่ ในสมัย นั้น พร้อมด้วยลูกบ้านนาคูณน้อย หมู่ที่ 6 ประกอบด้วย นางคำนาง แปโค นางใคร เคนดง และนางหวา ตุธิรัตน์ ได้นำผลิตภัณฑ์จักสาน คือ กระติบข้าว โดยผลิตเป็นลายตัวหนังสือคำ ว่า “กินของไทย ใช้ของไทย” และได้รับรางวัลพระราชทานชมเชยที่ 1 ประเภทความคิดสร้างสรรค์ ได้รับรางวัลเงินสด 10,000 บาท
หลังจากนั้นนายนพวัชร วิงห์ศักดา นายอำเภอนาหว้า เห็นว่าน่าจะส่งเสริมอาชีพจักสานกระติบข้าว เป็นอาชีพเสริมอย่างจริงจังให้แก่ชุมชนชาวตำบลนาคูณใหญ่ เป็นอาชีพรองจากการทำนา ในลักษณะการรวมกลุ่มให้เกิดรายได้ให้กับชุมชนจึงมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาหว้า ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพโดยตรง ได้เข้ามาจัดตั้งกลุ่มให้ในวันที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ.2541 ที่บ้านนาคูณน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม โดยใช้บริเวณใต้ถุนบ้านของประธานกลุ่มคือนางคำนาง แปโค เป็นที่ทำการกลุ่ม มีคณะกรรมการบริหารจำนวน 11 คน และมีสมาชิกจำนวน 52 คน ได้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่จำนวน 30,000 บาท ช่วงแรกทางกลุ่มผลิตสินค้าหลักเป็นกระติบข้าวแบบธรรมดา และของใช้ต่างๆ จำหน่ายเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างจังหวัดมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ต่อมามีคนในชุมชนได้นำการทำกระติบข้าวรูปทรงหัวใจมาเผยแพร่ให้กับคนในชุมชน ได้ลองผลิตปรากฏว่าเป็นทีต้องการของตลาดในเวลาต่อมา ด้วยรูปทรงที่สวยงาม และฝีมืออันประณีต จึงมีลูกค้าสั่งผลิตเพื่อเป็นของชำร่วย ของที่ระลึกในงานมงคลต่างๆ

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ลักษณะที่โดดเด่นของกระติบแปรรูปหัวใจของศูนย์หัตถกรรมและพัฒนาอาชีพพื้นบ้านจักสานไม้ไผ่ บ้านนาคูณน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลนาคูณใหญ่ คือ มีรูปทรงที่สวยงาม ฝีมือประณีต ผลิตจากวัสดุธรรมชาติทั้งหมด ตลอดการผลิตไม่ใช้สารเคมี สีสันสวยงามตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์มีความคงทน อันเนื่องมาจากแต่ละขั้นตอนของการผลิตใช้ภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดและคิดค้นเพิ่มเติมตั้งแต่การเตรียมวัสดุด้วยการต้มไม้ไผ่ และการมควันเพื่อให้เกิดสีสันที่สวยงามและป้องกันมอดไม้ไผ่

วัตถุดิบ
1. ไผ่สีสุก
2. เลื่อย
3. พร้า
4. เครื่องเหลาตอก
5. เหล็กซี
6. กรรไกร
7. ดินสอ/ปากกา
8. กระบอกฉีดน้ำ
9. น้ำ
10. หวาย
11. ฝากีวีขัดรองเท้า
ส่วนประกอบ กระติบรูปหัวใจ มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
1.ตัวกระติบ
2. ฝากระติบ
3. ตุ๊

ขั้นตอนการผลิต
ในกระบวนการผลิตกระติบรูปหัวใจ แบ่งออกเป็นขั้นตอนตามส่วนประกอบโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1. ขั้นเตรียมวัตถุดิบ
1. เลื่อยไม้ไผ่เป็นปล้องความยาวประมาณ 10 นิ้ว แล้วผ่าออกเป็นซีก
2. นำไผ่ที่ผ่าแล้วไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกำจัดน้ำตาลในเนื้อไม้ไผ่
การต้มไม้ไผ่นี้ยังช่วยให้ไผ่มีความเหนียว ลดการฉีกขาด และที่สำคัญคือ ป้องกันมอดกัดกินเนื้อไม้ไผ่ และขั้นตอนการต้มแม่คำนาง แปโค บอกเคล็ดลับว่าให้ผสมน้ำซาวข้าวประมาณ 10 ลิตร และเกลือ ประมาณ 1 กำมือ ผสมลงไปด้วยเพราะผลที่ได้จะประสิทธิภาพดีกว่าการใช้น้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว
3. เมื่อต้มแล้วรอให้เย็นแล้วนำมาจักตอกขนาดความกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร
4. นำตอกที่ได้มาขูดด้วยเครื่องขูดตอกเพื่อให้ได้เส้นตอกที่เรียบ เวลาสานจะทำให้ประณีต สวยงาม หลังจากนั้นนำมาผึ่งให้แห้ง
2. ขั้นตอนการเตรียมส่วนประกอบ
1. การทำฝาและตัวกระติบ ในขั้นตอนของการทำฝาและตัวกระติบนี้จะมีกระบวนการที่ เหมือนกันทุกประการ คือจะสานด้วยลายสองและลายเวียนเหมือนกัน ยกเว้นจำนวนเส้นตอกที่ แตกต่างกัน คือ ฝากระติบจากมีจำนวนเส้นตอกที่มากกว่าตัวกระติบประมาณ 2-3 เส้น เพื่อเวลา ประกอบจะสามารถปิดเปิดได้พอดี
2. การเตรียมตุ๊ ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ เพราะตุ๊เป็น ส่วนประกอบที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวและฝากระติบ นอกจากนั้นยังเพิ่มความสวยงาม ให้กับ ผลิตภัณฑ์อีกด้วย ตุ๊ที่ประกอบในผลิตภัณฑ์แปรรูปกระติบหัวใจนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- ตุ๊ลายขัด ใช้เส้นตอกเส้นใหญ่ และนิยมสานเป็นลายขัด เพราะเวลานำมาประกอบเส้น ตอกจะไม่หลุดลุ่ย และประกอบง่ายใช้ประกอบในผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ชิ้น
- ตุ๊ลายสอง เป็นตุ๊ที่ใช้ตอกขนาดเดียวกับที่สานตัวและฝากระติบ นิยมสานเป็นลายสอง เพราะใช้เวลาสั้น มีความแน่นของเส้นตอก 1 กระติบใช้ตุ๊ลายสองจำนวน 2 ชิ้น
- ตุ๊ลายตาแหลว (ตาเหยี่ยว) ลายตาแหลวเป็นลายที่ใช้เส้นตอกเส้นเล็กที่สุดในบรรดาตุ๊ทุก ชนิดโดยเป็นชั้นบนสุดที่ใช้ประกอบในส่วนของฝากระติบ
3. ขั้นตอนการประกอบ ก่อนที่จะประกอบให้ดัดตัวและฝากระติบให้เป็นรูปทรงหัวใจก่อน เพราะจะทำให้ฝาและตัวสวมกันได้พอดี หลังจากนั้นจึงนำไปประกอบกับ ตุ๊ ที่เตรียมไว 
- การประกอบส่วนตัวกระติบ นำตัวกระติบ ตุ๊ลายขัด 1 ชิ้น และตุ๊ลายสอง 1 ชิ้นประกอบ เข้าด้วยกัน โดยให้ตุ๊ลายขัดอยู่ด้านใน และให้ตุ๊ลายสองอยู่ด้านนอกสุด หลังจากนั้นประกอบกันเข้า ด้วยเส้นหวายที่เตรียมไว้ โดยจุดแรกใช้เหล็กซีเจาะรูนำทางและร้อยประสานเข้ากันด้วยเส้นหวายจน รอบ
- การประกอบส่วนฝากระติบ นำตัวฝากระติบ, ตุ๊ลายขัด 1 ชิ้น, ตุ๊ลายสอง 1 ชิ้น และตุ๊ ลายตาแหลว 1 ชิ้น มาประกอบเข้าด้วยกัน โดยการยึดด้วยเส้นหวายที่เตรียมไว้ โดยเรียงลำดับตุ๊จาก ด้านในสุดด้วยตุ๊ลายขัด ต่อมาด้วยตุ๊ลายสอง และปิดทายด้านนอกสุดด้วยตุ๊ลายตาแหลว
4. ขั้นตอนการรมควัน การรมควันถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนนึ่ง เพราะจำทำให้เกิดสีของผลิตภัณฑ์ที่ สวยงาม กระบวนการนี้ใช้เชื้อเพลิงคือ ฟางข้าว แกลบ กะลามะพร้าว ฟืน ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดย วิธีการคือนำฟางข้าวไปชุบน้ำและจุดไฟแล้วนำแกลบมาคลุมชั้นบนเพื่อให้เกิดควัน แล้วนำตะแกรงไม้ ไผ่มาวางด้านบนของท่อซีเมนต์ นำผลิตภัณฑ์ไปวางแล้วนำผ้ามาคลุมให้มิดชิด กระบวนการรมควันนี้ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ในระหว่างนี้ต้องหมั่นกลับด้านเพื่อให้ได้สีที่สวยงาม สวยตลอดทั้งผลิตภัณฑ์ การรมควันนอกจากเพิ่มสีสันแล้วยังช่วยให้ป้องกันมอดกินไม้ได้

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
1. การต้มไม้ไผ่ ให้ผสมน้ำซาวข้าวประมาณ 10 ลิตร และเกลือ 1 กำมือ ต้มจนน้ำต้มหมด ความเหนียว โดยใช้เวลาในการต้มประมาณ 24 ชั่วโมง หรือมากกว่า เพื่อป้องกันมอดไม้ไผ่ และทำให้ ได้เส้นตอกที่เหนียว
2. เวลาสาน ให้พรมน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันเส้นตอกหัก การพรมน้ำจะช่วยให้การสานประณีต ยิ่งขึ้นเพราะเส้นตอกจะแน่นหนา เพิ่มความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์
3. การดัดรูปทรงกระติบให้เป็นรูปหัวใจ ต้องนำฝาและตัวกระติบมาดัดพร้อมกันโดยฝาอยู่ ด้านบน วิธีนี้จะทำฝาและตัวประกอบกันได้พอดี
4. ขั้นตอนการรมควัน ถ้าต้องการสีที่สวยงาม เวลารมควันต้องปิดปล่องให้มิดชิด และเทียวกลับ ด้านบ่อยๆ เพื่อให้สีสวยเสมอกัน

มูลเหตุที่ทำให้เกิดเครื่องจักสาน

1. มูลเหตุจากความจำเป็นในการดำรงชีวิต การดำรงชีวิตในชนบทจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่สามารถผลิตได้เองมาช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย โดยเฉพาะผู้มีอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามหน้าที่ใช้สอยดังนี้
1.1 เครื่องจักสานที่ใช้ในการบริโภค ได้แก่ ซ้าหวด กระติ๊บ แอบข้าว หวดนึ่งข้าวเหนียว ก่องข้าว กระชอน กระด้ง ฯลฯ
1.2 เครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะ ได้แก่ กระบุง กระจาด ซ้ากระทาย กระบาย กะโล่ กระด้ง ชะลอม ฯลฯ
1.3 เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องตวง ได้แก่ กระออม กระชุ กระบุง สัด ฯลฯ
1.4 เครื่องจักสานที่ใช้เป็นเครื่องเรือนและเครื่องปูลาด ได้แก่ เสื่อต่าง ๆ
1.5 เครื่องจักสานที่ใช้ป้องกันแดดฝน ได้แก่ หมวก กุ๊บ งอบ ฯลฯ
1.6 เครื่องจักสานที่ใช้ในการดักจับสัตว์ ได้แก่ ลอบ ไซ อีจู้ ชะนาง จั่น ฯลฯ
1.7 เครื่องจักสานที่ใช้เกี่ยวกับความเชื่อ ประเพณีและศาสนา ได้แก่ ก่องข้าวขวัญ ซ้าสำหรับใส่พาน สลาก ฯลฯ
2. มูลเหตุที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติตามสภาพภูมิศาสตร์ เพราะชาวไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม จึงจำเป็นต้องทำมาหากินกันตามสภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้นการทำเครือ่งจักสานที่เห็นได้ชัด คือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจับปลาและสัตว์น้ำจืด ได้แก่ ลอบ ไซ ชะนาง โดยทำด้วยไม้ไผ่และหวาย ซึ่งรูปแบบและโครงสร้างจะสร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้สอย และครุ ใช้สำหรับตีข้าวของทางภาคเหนือ เป็นต้น
3. มูลเหตุที่เกิดจากความเชื่อ ขบธรรมเนียมประเพณี และศาสนา เครื่องจักสานจำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นจากผลของความเชื่อของท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการสานเสื่อปาหนันเพื่อใช้ในการแต่งงานของภาคใต้ เป็นต้น
นอกจากข้อมูลอันสำคัญทั้ง 3 ประการแล้ว ปัจจุบันพบว่าในหลายท้องถิ่น เครื่องจักสานได้กลายมาเป็นอาชีพรองจากการทำไร่ ทำนา เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้พิเศษในช่วงต่อไป

ประดิษฐ์ตะกร้าพลาสติก

  
                                 
การสานตะกร้า, กระเป๋าจากหลอดพลาสติก

  วัสดุอุปกรณ์

1. หลอดพลาสติก     2. สายยาง   
   3. น็อต                4. เชือก        
   5. ลวด                 6. กรรไกร
   7. ไม้โปรแตรกเตอร์

  ขั้นตอนการทำงาน

     1.  การเตรียมงาน : ศึกษาสำรวจข้อมูล รวบรวมเงินทุน กำหนดราคาต้นทุน ราคาจำหน่าย  คิดกำไร ต่อ 1 ชิ้นงาน

     2. การเตรียมสถานที่  : จัดสถานที่, เตรียมวัสดุอุปกรณ์

     3. การดำเนินงาน : ศึกษาหาความรู้เบื้องต้น จากเอกสาร  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ  ดังนี้        

-  จัดหาวัสดุอุปกรณ์  จัดทำ 

-  จำหน่าย  เก็บเงิน  ทำบัญชี

-  ประเมินการปฏิบัติงานเมื่อเสร็จงานแต่ละครั้ง  ประเมินสรุปเมื่อปฏิบัติงานเสร็จสิ้น แล้วเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอาชีพ

     4. วิธีทำของใช้จากหลอดพลาสติก

          ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย หลอดพลาสติกหลากสี  กรรไกร  สายยาง  น็อต  เชือก  ลวด

          ขั้นที่ 2 ขั้นสานก่อก้นของใช้ โดยนำหลอดมาพับครึ่งแล้วตัดออกจากกัน  แล้วนำหลอดที่ตัดมาพับเพื่อก่อตัวและสานความกว้าง  8  แถวความยาว  12  แถว 

          ขั้นที่ 3 ขั้นสานขอบปากของใช้ ก่อตัวจนเสร็จแล้วนำมาพับปากให้เรียบร้อย

          ขั้นที่ 4  ขั้นทำสายคล้องตะกร้า  นำเหล็กแหลมมาเจาะรู  ใส่สายยางและเชือกเจาะรู  แล้วใส่น็อต ล็อคให้แน่น เป็นอันเสร็จ.
http://ssussi.wordpress.com/2011/09/07/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5/

              พัดสานเป็นของที่ใช้โบกเตาไฟของคนไทยสมัยก่อนหรือใช้สำหรับโบกพัดร่างกายให้คลายจากความร้อนได้สามาที่จะนำไปใหนมาใหนได้อย่างสดวกสบายวัสดุที่ใช้คือไม้
การสารพัดเป็นงานหรรตกรรมพื้นบ้านอันทรงคุณค่าที่เกิดจากภูมปัญญาชาวบ้านเริ่มสารพัดมาเป็นเวลานาน40ปีมีการประยุคปรับปรุงแบบตลอดเวลา
อุปกรณ์
1.ไม้ไผ่สีสุก
2.มีด
3.สีย้อมผ้า
4.แบบพิมพ์รูปพัด
5.ดินสอ
6.กรรไกล
7.กิปติดผม
8.เป็กตอกเย็บพัด
9.แปรงทาสี
10.สว่านเจาะด้ามพัด
วิธีการทำ
1.การย้อมสีตอก (สีที่ใช้เป็นสีย้อมผ้า อาจจะเป็นสีซองหรือกระป๋องก็ได้)
2.รีบนำตอกที่ย้อมสีแล้ว ไปล้างน้ำสะอาดเพื่อไม่ให้สีจับที่ตอกหนาเกินไปเวลา สานสีตอกจะได้ไม่ติดมือ
3. นำตอกที่ล้างน้ำแล้วไปผึ่งแดดจนแห้ง ก็นำไปสานพัดได้
4.. การสานก่อเป็นแผงนำตอกที่ย้อมสีแล้วมาสานก่อ โดยมากนิยมสานเป็นลาย 3 หมายถึง ยกตอก
5.เส้น ขัดตอก 3 เส้น หรือเรียกว่ายก 3 ข่ม 3 เป็นขั้นบันได แต่ถ้าจะให้เป็นลาย เป็นดอกหรือเป็นรูปทรงอะไรนั้น อยู่ที่เทคนิคของผู้สาน
6.การตัดพัดให้เป็นรูปเล่มตามแบบ เมื่อสานพัดเป็นแผงเสร็จขนาดประมาณ 1 ฟุต แล้วนำแบบไม้หรือแบบกระดาษที่ทำเป็นรูปใบโพธิ์ หรือรูปตาลปัตร ที่นิยมกัน มาทาบแล้วตัดตามแบบ (สำหรับพัดหยาบนั้นนิยมทำเป็นรูปตาลปัตร เพราะใหญ่ใช้งานได้


13 ก.ย. 2556

การจักสานหมวกใบลาน


ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม                                                                     
          ลานเป็นพืชที่ขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ บ้านวังขอนแดงเป็นเขตพื้นที่ ที่มีต้นลานมากที่สุดในประเทศไทยหรือในโลกที่ว่าได้ และเป็นลานที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือ เป็นเส้นใยที่เหนียวและทนทาน ชาวบ้านเริ่มใช้ลานทำประโยชน์ในครั้งแรก คือ ใช้ทำเป็นลานมัดข้าวในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ต่อมาได้มีพ่อค้าคนกลางจากอยุธยามาสั่งให้ทำเป็นลานซอง โดยตัดใบลานยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร มัดละ ๑,๐๐๐ ใบ หรือ ๑ ซอง ในราคาแตกต่างกัน คือ ลานรวมมัดละ ๓๐ บาท ลานใหญ่หรือลานคัดมัดละ ๑๕๐ บาท โดยสั่งให้ชาวบ้านนำมารวามกันไว้ที่เดียว แล้วพ่อค้ามารับซื้อลานถึงบ้าน หรือไม่ชาวบ้านบางคนที่เป็นนายทุนนำใบลานไปส่งเอง ซึ่งชาวอยุธยาจะนำไปลานไปทำเป็นงอบ ปลาตะเพียน คัมภีร์ใบลาน ทำกันมานับร้อยปี ต่อมาชาวบ้านวังขอนแดงมีความคิดที่จะนำใบลาน มาทำเป็นผลิตภัณฑ์สของตนเอง โดยเริ่มจากการทำงอบ ปลาตะเพียน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ก็พอมีรายได้ ต่อมามีเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมการพัฒนาชุมชน มองเห็นว่าใบลานน่าจะทำประโยชน์ได้มากกว่านี้ จึงได้นำวิทยากรมาอบรมและฝึกสอนชาวบ้านทำหมวกใบลาน เช่น หมวกสตรี หมวกบุรุษ หมวกแฟชั่น                                                                                                                                                                                                   ซึ่งในช่วงแรกทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในครอบครัว จะช่วยรับซื้อไว้ก่อน เพราะว่าชาวบ้านยังไม่สามารถส่งขายด้วยตัวเอง และได้ทำการจัดตั้งกลุ่มเมื่อ ปี ๒๕๒๗ ชื่อกลุ่มจักสานใบลานบ้านวังขอนแดง มีสมาชิกทั้งหมด ๒๕ คน โดยมีนางสีนวน ป้องกัน เป็นประธานกลุ่ม ต่อมาทางกลุ่มมีความเห็นควรควรจะพัฒนารูปแบบหมวกใบลานให้เป็นเอกลักษณ์ของ กลุ่ม สมาชิกจึงได้ริเริ่มคัดแปลงรูปหมวกให้มีหลากหลายรูปแบบ หมวกทรงคาวบอย เป็นที่ถูกใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและกลุ่มเป็นอย่างดี ต่อมาในปี ๒๕๔๗ สมาชิกกลุ่มได้เลือกตั้ง นางพเยาว์ มีสุข เป็นประธานกลุ่ม และมีสมาชิก ๓๕ คน เพิ่มขึ้นตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มก็มีเพิ่มมากขึ้น เช่น กล่องทิชชู่ กระเป๋าสตางค์ กล่องเอนกประสงค์ และของชำร่วยอื่นๆ                                                                                                                      ปัจจุบันกลุ่มมีนายเจน มีสุข เป็นประธาน และได้มีการปลูกต้นลาน เพื่อทดแทนต้นลานที่แก่ตาย เพื่อจะได้เป็นมรดกของลูกหลานสืบไป                เอกลักษณ์ / จุดเด่นผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีน้ำหนักเบา โดยเฉพาะต้นลานซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นำมาผลิต จะมีเฉพาะที่ตำบลบุพราหมณ์เท่านั้น และใบลานของอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี คือใบลานที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ใบลานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝีมือประณีตมีหลายสี หลายรูปแบบมีเส้นใยที่คงทน ดูแลรักษาง่าย
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)                          2. ผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับ 4 ดาว
ความสัมพันธ์กับชุมชน
คนในชุมชนบ้านวังขอนแดงนี้มีอาชีพจักสานใบลานอยู่ในวิถีชีวิต แทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในสายเลือดของชาวบ้านก็ว่าได้ เพราะมีการทำหัตถกรรมจักรสานแทบทุกครัวเรือน บางครัวเรือนทำเป็นอาชีพหลัก บางครัวเรือนทำเป็นอาชีพเสริมนอกจากนี้มีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นคือวิธี การจักสานใบลานมาจากคนรุ่นก่อนและมีการพัฒนา ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยการปรับปรุงแบบให้ทันสมัยเป็นที่ต้องการของผู้ใช้มากขึ้น มีวิทยากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาแนะนำรูปแบบใหม่ ๆ ของบรรจุภัณฑ์ และมีสมาชิกบางคนสามารถแกะลายใหม่ ๆ ได้ จึงไม่มีปัญหาในเรื่องการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ นอกจากนี้จุดเด่นของชุมชนนี้ คือ มีคนในรุ่นเด็กตั้งแต่อายุ 6-7 ขวบ และรุ่นหนุ่มสาวมาสืบทอดการทำงานของชุมชน โดยการเรียนรู้การจักสานผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การปลูกฝังจิตสำนึกในการรักท้องถิ่น รวมถึงการตลาด คนในชุมชนมีรายได้จากการทำอาชีพจักสานใบลานประมาณ 300 บาทต่อคนต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่ดีสำหรับคนที่อยู่ในชุมชนและไม่ต้องอพยพไปทำงานใน ต่างถิ่น ทำให้ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้า ลดปัญหาสังคมต่าง ๆ ลงไปได้อีกทางหนึ่งด้วย
ด้านอาชีพ เป็นอาชีพเสริมของสมาชิก กลุ่มทำให้มีรายได้มากขึ้น ด้านของใช้ เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ด้านวัฒนธรรมคัมภีร์จากใบลาน ส่งเสริมการอนุรักษ์หัตถกรรมจักสาน ด้านการศึกษา เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนและระหว่างชุมชน ประเภทหัตถกรรมจักสาน ด้านภูมิปัญญา มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ด้านสิ่งแวดล้อม มีการปลูกต้นลานทดแทนต้นลานที่ตัดไปตามโครงการคืนลานสู่ป่า ด้านที่อยู่อาศัย ใช้ใบลานทำหลังคาบ้าน ฝาบ้าน

8 ก.ย. 2556

ที่มาของเครื่องจักสานการทำเครื่องจักสานในประเทศไทย มีการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นักโบราณคดีได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดสองเส้นประมาณว่ามีอายุราว 4,000 ปีมาแล้วการทำเครื่องจักสานยุคแรก ๆ มนุษย์จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งไม้ ต้นไม้ประเภทเถานำมาสานมาขัดเป็นรูปทรงง่ายๆ เพื่อใช้เป็นภาชนะหรือมาสานขัดกันเป็นแผ่นเพื่อใช้สำหรับปูรองนั่ง รองนอน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นเครื่องจักสานที่มีความประณีตในยุคต่อๆ มา เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มนุษย์คิดวิธีการต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการสอดขัดและสานกันของวัสดุที่เป็นเส้นเป็นริ้ว โดยสร้างรูปทรงของสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นตามความประสงค์ในการใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์ ประสานกับขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้นๆการเรียกเครื่องจักสานว่า “จักสาน” นั้น เป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสาน เพราะเครื่องจักสานต่างๆ จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ได้นั้นต้องผ่านกระบวนการ
ที่มา:http://rattan.raicyber.com/?p=1337


6 ก.ย. 2556

การจักสานตะกร้าทางมะพร้าว

การทำตระกร้าทางมะพร้าวการจักสานตะกร้าด้วยทางมะพร้าว เป็นความรู้ ความคิด และประสบการณ์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของชาวบ้านโคกมอญ  หมู่  3  ต.โคกไทย อำเภอศรีมโหสถ  จ.ปราจีนบุรี ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น ตะกร้า ขันโตก แจกัน ชั้นวางของ เป็นต้นภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การจักสานตะกร้าทางมะพร้าว 
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่างๆ ความรู้เหล่านี้สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ มีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และผู้มีพระคุณ มีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันข้าวของของตนให้แก่ผู้อื่น ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่มีคุณธรรม สอนให้คนเป็นคนดี สอนให้คนเคารพธรรมชาติ รู้จักพึ่งพาอาศัยธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ให้เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคนที่ล่วงลับไปแล้ว ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้เรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า ทอเสื่อ การสานตะกร้าและเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ ด้วยหวาย การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนั้น ยังมีศิลปะดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวด เป็นต้น ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบันด้วย คือ •      การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ •      การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่น การรื้อฟื้นดนตรีไทย การประยุกต์ คือ การปรับ หรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้คนร่วมมือกันอนุรักษ์ป่า การจักสานตะกร้าทางมะพร้าวคือภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักคิดค้นหาวิธีประดิษฐ์ขึ้นจนสำเร็จและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ในปัจจุบันต้นมะพร้าวเพียง 1 ต้น สามารถนำมาใช้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากจะนำน้ำมะพร้าวมาดื่ม เอาเนื้อมะพร้าวมารับประทานทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ หรือนำมาคั้นเป็นกะทิใส่ในอาหารคาว หวาน ได้หลายอย่างแล้ว กะลามะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของได้เช่นกัน อาทิ เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยแขน แหวน กำไล เข็มขัด ของใช้ เช่น กะลาก๊อบแก๊บ เปลือกของลูกมะพร้าวสามารถนำมาปลูกต้นไม้ได้ เช่น ปลูกต้นกล้วยไม้ ยอดอ่อนของมะพร้าวก็สามารถนำมาทำอาหารได้หลายเมนูเด็ด เช่น แกงไก่ใส่ยอดมะพร้าวอ่อน ยำยอดมะพร้าวอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อนผัดกุ้ง ตำยอดมะพร้าวอ่อน เป็นต้น เยื่อหุ้มต้นมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ลำต้นก็สามารถนำมาทำเก้าอี้ ทำรั้วก็ดูเก๋ไก๋ไม่แพ้กัน ใบมะพร้าวก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน ตั๊กแตน และเอามาห่อขนมได้ ส่วนทางมะพร้าว ก็สามารถนำมาทำไม้กวาดปัดหยากไหย้ แจกัน ขันโตก ไม้กลัดห่อขนมหรือของต่าง ๆ และทำตะกร้า วิธีการทำตะกร้าและวัสดุอุปกรณ์ในการทำก็ไม่ยุ่งยากวัสดุอุปกรณ์
1. ทางมะพร้าว       เป็นผลผลิตจากมะพร้าวซึ่งอยู่ที่ใบของมะพร้าว สามารถหาได้ง่ายตามท้องถิ่นบ้านเรา สามารถนำมาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการใช้มีดเฉาะใบออกและเอาแต่ทางมะพร้าวมาขึ้นรูปทรงต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ 2. ไม้ไผ่ เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่หาได้ง่าย ส่วนใหญ่ชาวบ้านปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา และที่สวนต่าง ๆ เราก็เอามาใช้โดยการผ่าออกเป็นเส้นแล้วนำมาจักสานตามที่เราต้องการ 3. หวาย ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม 4. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น มีด ค้อน สิ่ว กรรไกร ลวด และสี ขั้นตอนการผลิตตะกร้าทางมะพร้าว 1.      นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อนๆ วัดขนาดความยาวของตะกร้า 2.      นำไม้ไผ่มาเหลาให้ได้ขนาดตามความต้องการ 3.      นำไม้ไผ่ที่เหลามาตัดเป็นรูปทรงตามที่เราต้องการให้ครบจำนวน 4.      นำทางมะพร้าวที่เหลาเสร็จเรียบร้อยมาคัดขนาดให้เท่ากัน 5.      เตรียมด้ายและเข็มเพื่อนำทางมะพร้าวมาสานติดกับขอบไม้ไผ่ที่เราเตรียมไว้ 6.      พอสานได้รูปทรงตามต้องการแล้ว นำหวายเทียมมาตกแต่งให้สวยงาม 7.      นำยูรีเทนเคลือบให้ได้ความแข็งแรง และสวยงามประโยชน์ 1. ใช้สำหรับใส่ของใช้ เช่น เสื้อผ้า และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ หรือใช้ใส่ของเวลาไป จ่ายตลาด เป็นต้น 2. ใช้ตกแต่งบ้าน หรือสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม
http://203.172.141.237/simaho/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=25

การจักสานตะกร้าจากไม้ไผ่




https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiEjgMLZz4puRkSWw_6K9fBdASf3ojuMXx2NUHiPJGqArfgJ_6UhrD-o6msr13O4NJryD5QDy1eNl_cwut52KgC3-1bj-qsGSp8iEGvMDeOjKqaKBotTiVNZDVLkEmD1N0kS1kkLn2wHK5_/s1600/008.jpg

การสานตะกร้า
      หากย้อนไปในอดีตเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน งานหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวบ้านในอำเภอ หนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ก็คงไม่แตกต่างจากชาวบ้านในเขตอื่น ๆ ของภาคอีสานเท่าใดนัก ส่วนใหญ่จะมีความสามารถในการทำเครื่องจักสานต่าง ๆ อาทิ ตะกร้า กระบุง กระเชอ ไม้กวาดทางมะพร้าว ฯลฯ ไว้ใช้กันเองในครัวเรือน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด รวมทั้งป่าไผ่ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการนำมาทำเป็นเครื่องจักสาน
แต่เมื่อกาลเวลาผันแปร เทคโนโลยีและวัฒนธรรมสมัยใหม่เดินทางมาถึง สภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไป อำเภอหนองบุญมากก็คงไม่แตกต่างจากเขตพื้นที่อื่น ๆ ที่ภูมิปัญญาด้านการทำหัตถกรรมพื้นบ้านค่อย ๆ ถูกทดแทนด้วยข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ชาวบ้านผู้มีฝีมือในการจักสานต่างค่อย ๆ ล้มหายตายจากไปตามอายุขัย คงเหลือแต่ผู้สูงอายุที่ยังพอมีเรี่ยวแรง เที่ยวหาลำไผ่ที่นับวันก็หายากขึ้นทุกที มานั่งเหลาเป็นเส้นตอก นำมาสานตะกร้าหรือกระบุงไว้ใช้เองในยามว่าง
   ในหมู่บ้านหนองหัวแรด หมู่ที่ ๑ ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก ก็เช่นกัน มีคนเฒ่าคนแก่กลุ่มหนึ่งซึ่งมาตั้งรกรากและสร้างครอบครัวเป็นรุ่นแรกๆ ของชุมชนบ้านหนองหัวแรด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเป็น รากบ้าน คนเฒ่าคนแก่กลุ่มนี้ยังคงใช้เวลาว่างนั่งทำไม้กวาดทางมะพร้าวและตะกร้าสานจากไม้ไผ่เอาไว้ใช้เองและขายให้คนในชุมชน ซึ่งแต่เดิมตะกร้าของชาวบ้านกลุ่มนี้ยังทำจากไม้ไผ่เหมือนในสมัยก่อน ต่อมาเมื่อประมาณปี ๒๕๔๘ จึงได้มีผู้ริเริ่มการสานตะกร้าจากก้านมะพร้าว คือ นางเรี่ย เอบมณฑล อายุ ๗๖ เนื่องจากลูกสาวได้ซื้อตะกร้าสานด้วยก้านมะพร้าวจากตลาดนัดมาให้ดู นางเรี่ยจึงได้ทดลองนำก้านมะพร้าวมาสานตาม
      แม้ว่า นางเรี่ยจะไม่ใช่คนแรกที่คิดค้นการสานตะกร้าจากก้านมะพร้าว แต่ด้วยภูมิปัญญาหรือความรู้เดิมที่มีอยู่เป็นทุนในเรื่องงานจักสาน ทำให้สามารถเรียนรู้การสานตะกร้าจากก้านมะพร้าวได้อย่างรวดเร็ว และนางเรี่ยยังพบว่าการสานก้านมะพร้าวมีขั้นตอนการทำง่ายกว่าไม้ไผ่ ประกอบกับไม้ไผ่ในหมู่บ้านก็หายากมาก ต่างจากต้นมะพร้าวที่ยังมีปลูกกันทั่วไป นางเรี่ยและครอบครัว คือ สามีผู้มีฝีมือในการจักสานเช่นกัน และลูกสาวที่พยายามเรียนรู้จากพ่อแม่ ได้ช่วยกันออกแบบตะกร้าในรูปทรงต่างๆ ใช้เวลาว่างนั่งสานและพัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ จนสามารถจำหน่ายให้คนในหมู่บ้านบ้าง ตามตลาดนัดบ้าง บางครั้งมีคนมาสั่งทำถึงบ้าน เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้กันก็ฝึกสานตาม ปัจจุบันตะกร้าก้านมะพร้าวจึงกลายเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในชุมชน
ทุกวันนี้ นอกจากนางเรี่ยและครอบครัวที่สานตะกร้าจากก้านมะพร้าวเป็นแล้ว ยังมีเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งก็คือกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ที่มีภูมิปัญญาในด้านการจักสานอยู่แล้ว สานตะกร้าจากก้านมะพร้าวเป็นงานยามว่างที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวได้ด้วย
กลุ่มสานตะกร้าจากก้านมะพร้าว บ้านหนองหัวแรด ตำบลแหลมทอง อาจไม่ใช่กลุ่มที่รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ได้เป็นสินค้าโอท็อป และคนทำเองก็ไม่ได้หวังว่าจะต้องทำเป็นกิจการใหญ่โตเพื่อไปแข่งขันกับสินค้าอื่นๆ ขอเพียงเป็นอาชีพเสริมที่มีรายได้เล็กๆ น้อยๆ อาศัยว่าเป็นการทำงานแก้เหงาของคนในวัยชรา สิ่งที่น่าสนใจศึกษาจากกลุ่มนี้จึงไม่ใช่แค่กระบวนการหรือขั้นตอนการสานตะกร้าเท่านั้น แต่เป็นร่องรอยในอดีตของชุมชน และภูมิปัญญาชาวบ้านอันทรงคุณค่า ที่รอคอยให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเรียนรู้และช่วยกันสืบทอดต่อไป
     ๑. วัสดุและอุปกรณ์สำหรับสานตะกร้าก้านมะพร้าว
๑.๑ ก้านมะพร้าว
๑.๒ ไม้ไผ่
๑.๓ ปอทอเสื่อ ( ปอเทียมเส้นเล็ก ) 
๑.๔ หวายเทียม
๑.๕ ลวด ๑.๖ คีมล็อก
๑.๗ คีมปากนกแก้ว 
๑.๘ คีมปากจิ้งจก
๑.๙ กรรไกรตัดกิ่งไม้
 ๑.๑๐ เลื่อยสำหรับตัดไม้ไผ่
๑.๑๑ เหล็กแหลม
 ๑.๑๒ มีดตอก
๑.๑๓ มีดใหญ่  
๑.๑๔ สายวัด
 ๑.๑๕ เข็มเย็บผ้าเบอร์ใหญ่
 ๑.๑๖ ดินสอหรือปากกา
     
 

 ๒. ขั้นตอนการสานตะกร้าก้านมะพร้าว                                                                                                                                                     ๒.๑ เลือกก้านมะพร้าวเหลือง ๆ ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป จะทำให้ได้ตะกร้าที่แข็งแรง มีสีสวย ถ้าเป็นก้านที่แก่มากจะทำให้สีคล้ำ หรืออ่อนเกินไปจะออกสีเขียวอ่อนและไม่แข็งแรง มะพร้าวน้ำหอมจะมีก้านที่สั้นกว่ามะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวที่ใช้ทำขนมและแกงกะทิ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานว่าต้องการตะกร้าใบใหญ่หรือใบเล็ก
๒.๒ นำก้านมะพร้าวมาเหลาใบออก ใช้มีดขูดให้เกลี้ยง จากนั้น นำไปตากแดดให้แห้งเพราะจะทำให้สานตะกร้าได้แน่น ไม่หลวม และช่วยป้องกันไม่ให้ขึ้นราได้ง่าย
๒.๓ เหลาไม้ไผ่ให้เป็นเส้นแบน ๆ ความหนาแล้วแต่ความต้องการ เพื่อใช้ขดเป็นวงสำหรับทำโครงตะกร้า ต้องการให้เป็นรูปทรงใดอยู่ที่ขั้นตอนนี้ ตะกร้า ๑ ใบใช้โครงไม้ไผ่ ๕ อัน ประกอบเป็นส่วน ก้นตะกร้า ๒ อัน ตัวตะกร้า ๑ อัน (ส่วนกลาง ) และปากตะกร้า ๒ อัน
๒.๔ นำก้านมะพร้าวที่เหลาและตากแดดเรียบร้อยแล้วมาสานไขว้กันไปมา ให้มีความถี่ห่างแล้วแต่ความต้องการ โดยเริ่มสานกับโครงไม้ไผ่ส่วนที่เป็นตัวตะกร้า ใช้ปอทอเสื่อที่ร้อยเข็มแล้วมัดให้ก้านมะพร้าวกับโครง ไม้ไผ่ติดกัน ขั้นตอนนี้ต้องพยายามจัดก้านมะพร้าวให้เรียงเสมอกัน และมัดด้วยปอทอเสื่อให้แน่นหนา
๒.๕ เมื่อสานส่วนตัวตะกร้าจนรอบแล้วจึงสานก้นตะกร้าโดยใช้โครงไม้ไผ่ประกัน ๒ วง และมัดด้วยลวด และหวายเทียม
๒.๖ จากนั้นนำโครงไม้ไผ่อีก ๒ อัน ประกบตรงส่วนปากตะกร้า ใช้ลวดและหวายเทียมมัดเช่นกัน ขั้นตอนนี้จะตกแต่งปากตะกร้าด้วยการสานหวายเทียม
๒.๗ รวบก้านมะพร้าวส่วนที่เหลือทั้งสองข้างไว้ด้วยกัน แล้วนำก้านมะพร้าวทั้งสองข้างมัดเชื่อมต่อกันด้วยหวายเทียมเพื่อเป็นหูตะกร้า ตัดก้านมะพร้าวที่ยาวเกินไปออกและตกแต่งให้เรียบร้อย
ร่วมเรียนรู้และขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 นางเรี่ย เอบมณฑล อายุ 76 ปี
อยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ 1 ตำบลแหลมทอง อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา